หอคำเมืองเชียงตุงสัญ ลักษณ์ทางจิตวิญญาณของชาวไทเขิน และชาวไทใหญ่

08 กุมภาพันธ์ 2018, 10:38:17


 
"หอหลวง" หรือ "หอคำ" เชียงตุง (ภาพถ่ายในปีค.ศ.1933) หอคำ สัญลักษณ์ทางจิตวิญญาณของชาวไทเขิน และชาวไทใหญ่ อาคารสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๔๙ ในสมัยเจ้าก้อนแก้วอินแถลง
ขึ้นครองราชย์เป็นเจ้าฟ้าหลวงเชียงตุง (พ.ศ.๒๔๓๙) ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๕–๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และ สมัยพระเจ้าอินทวิไชยานนท์, เจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ และ เจ้าแก้วนวรัฐ แห่งนครเชียงใหม่




 


เจ้าก้อนแก้ว อินแถลง ผู้ครองนครเชียงตุง และสร้างหอคำหลวง ครองราชมื่อ พ.ศ. 2439 สิ้นเมื่อ พ.ศ. 2478 รวมอายุ 60 ปี
 



 
จากหนังสือความทรงจำที่เมืองเชียงตุงของเจ้านางสุคันธา.กล่าวไว้ว่า....ชั้นบนของหอคำเป็นห้องพักของเจ้าฟ้าก้อนแก้วอินทรแถลง ซึ่งลูกๆ เรียกว่า "ฟ้าหม่อม" มีห้องพักของชายาเอก คือแม่เจ้าปทุมมหาเทวี(ธิดาเจ้าฟ้าเมืองสิง)ชาวเมืองเชียงตุงเรียกกันว่า "เจ้าแม่เมือง" และมีห้องพักของชายาคนรองๆ.ชาวเชียงตุงเรียกกันว่า "นางฟ้า"ห้องของนางฟ้าต้องเข้าออกทางประตูหน้าห้องเท่านั้นและนางฟ้าต้องใช้ห้องน้ำรวม.นอกจากนี้.ชั้นบนของหอคำเป็นห้องพระคลัง "ห้องเงินเมือง"(สมัยนั้นใช้เงินรูปีอินเดีย)ถัดมาเป็น "หอเทวดา" ซึ่งมีโต๊ะใหญ่ตั้งเครื่องบูชา(ชาวเชียงตุงมีความเชื่อและศรัทธาเรื่องการบูชาเทวดากันมากครับ)
 
ใน การปกครองระบบเจ้าฟ้าเชียงตุง อันมีพระมหากษัตริย์หรือจ้าวมหาชีวิต เป็นประมุขสูงสุด ทำหน้าที่ดูแลไพร่ฟ้าประชาชน ซึ่งกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ ที่ถูกสืบทอดต่อมาในเชื้อสายของราชวงศ์




"เจ้าฟ้าก้อนแก้วอินแถลง" มีชายา 6 คน มีลูกรวม 19 คน (อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพเจ้าทิพวรรณ ณ เชียงตุง 27 มกราคม 2533 หน้า 119-120) ในจำนวนนี้มี 3 คนมีสายสัมพันธ์รักกับคนล้านนา และ มาใช้ชีวิตครอบครัวที่เชียงใหม่.

หอหลวงเชียงตุง ได้ถูกสร้างขึ้น หลังจาก ที่เจ้าก้อนแก้วได้ไปประชุม อินเดีย กลับมา และ พานายช่างอินเดียมาด้วย โดยที่ได้แรงบัลดาลใจ จาก สถาปัตยกรรมอินเดีย อังกฤษ ผสม หลังคา แบบไทเขิน โดยสร้างหอใหม่ บัง หอเดิมที่เป็นทรงไทยใหญ่ และ เดินเชื่อมกันได้ เวลา ใน การก่อสร้าง เริ่มเมื่อ วันที่ 12/7/ 2449 เป็นอาคารที่ทำจากปูน เป็นอาคารแรกของเชียงตุง หอหลวงที่เมืองเชียงตุง ของเจ้าก้อนแก้ว อินแถลง


 


 
...นับตั้งแต่ พ.ศ.2534 รัฐบาลพม่าได้สั่งรื้อ "หอคำ" แล้วสร้างเป็นโรงแรมสมัยใหม่.ชื่อโรงแรมนิวเชียงตุง (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นอเมซิ่งเชียงตุง)สิ่งที่ยังหลงเหลืออยู่ในบริเวณที่เคยเป็นหอคำ.คือบ่อน้ำขนาดใหญ่และต้นไม้ใหญ่ซึ่งมีทั้งไม้ผล เช่น ต้นลำไย ต้นมะม่วง ต้นมะพร้าว ฯลฯ ส่วนไม้ดอกก็มี เช่น ต้นพะยอม ต้นพิกุล ต้นดอกสีม่วงฯ.และกำแพงรั้วของวังเดิม....เชื่อกันว่าปัจจุบันยังมีเทวดาคอยรักษาหอคำอยู่...บริเวณโรงแรมที่เคยเป็นหอคำยังคงมีบรรยากาศที่สงบเยือกเย็นเข้มขลังจนดูวังเวงครับ




เมืองเชียงตุง ตั้งอยู่ในรัฐฉานของประเทศพม่า เป็นเมืองของชาว ไทเขิน และ ชาวไทใหญ่ ในยุคเจ้าฟ้ากัอนแก้วอ้นแถลง ถือได้ว่า เป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรือง กว่า เมืองเชียงใหม่ จนกระทั่ง มีการสร้างทางรถไฟ จากบางกอก นำความเจริญ มาสู่เชียงใหม่

 



----------------------------------
เรียบเรียงโดย:#แอดมิน นายบ้านบ้าน
ขอขอบคุณท่านเจ้าของภาพและข้อมูลทุกท่านครับ
Cr.หนังสือในอนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพเจ้านางสุคันธา ณ.เชียงใหม่

ขอบคุณภาพจาก Kaye Ye Myint Aung


****************************************************************************
บริการจัดทัวร์ 
เชียงตุง เมืองยอง สิบสองปันนา คุนหมิงจีน หลวงพระบาง วังเวียงลาว มัณฑเลย์ พุกาม ทะเลสาบอินเล ตองจีรัฐฉาน

บริษัท เชียงตุงเรียลเอสเตท แอนด์ ทราเวล จำกัด
เลขที่ใบอนุญาต 21/00833
โทร : 092-891-2277,093-2537733,053-727255
ไลน์ไอดี : @chiangtung
เว๊ปไซค์ : Chiangtungbiz.com
youtube:http://bit.ly/2HDFdMO
 

บทความที่คุณอาจสนใจ

เมืองแห่งความหลากหลายวัฒนธรรม

ปัจจัยเกี่ยวกับการนำศพไปป่าช้าหรือเรื่องราว วัสดุสิ่งของเกี่ยวกับผียังมีหม้ออีกอย่างหนึ่งที่ผู้คนล้านนาสมัยก่อนได้ใช้นำหน้าขบวนศพไปสู่ป่าช้า ผู้คนเรียกกันว่า หม้อไฟ ก่อนที่จะนำศพไปป่าช้าผู้คนที่มาร่วมงานกุศลศพจะช่วยกันเตรียมหม้อไฟ โดยการไปซื้อหม้อต่อม(หม้อก้นกลม ปากผาย) มาเตรียมไว้เสร็จแล้วนำลวดมาทำสาแหรกเพื่อวางหม้อไฟผูกสาแหรกติดกับปลายคันไม้สำหรับแบก

ชานมาจากไหน ? น ร่องรอยเกี่ยวกับชื่อ สยาม เราได้ทราบว่าพวกไตรง บางที่ก็ถูกเรียกว่า สยาม (ออก เสียง ชยาม) หรือ ชาม มีคาอธิบายต่อปีกว่าคาว่า ชาม นี้คือคาเดียวกับ ชาน ที่พม่าใช้เรียกคนไตในรัฐชาน แต่ที่เพี้ยนเป็น ชาน ก็เพราะพม่าออกเสียงตัว ม สะกดเป็นแม่กน ข้อนี้เป็นความจริง คาว่า ชาน ในภาษาพม่านั้นอักษรพม่า เขียน ชาน (ใช้ ม สะกด)

บริษัท ไชยนารายณ์ โกลเบิ้ล จำกัด

66 หมู่1 ถนนโชคชัย4 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพ 10320

Tel ซื้อสินค้า : 063 5599 896

Tel ซื้อสินค้า : 092 891 2277

Tel ท่องเที่ยว :

Line ซื้อสินค้า : @chainarai

Line ท่องเที่ยว : @chainarai

Email : chainarai456@gmail.com

แผนที่

เพจ สิบสองปันนา หลวงพระบาง

เพจ เชียงตุง อยู่ดีกินหวาน